วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

เรื่อง  การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จัดทำโดย..  นางนิธิกานต์  ขวัญบุญ

      เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์  หมายถึง  สื่อการจัดประสบการณ์

แบบเล่นเป็นรายบุคคลและแบบเล่นเป็นกลุ่มที่ใช้ควบคู่กับการจัดประสบการณ์การเตรียม

ความพร้อมทางคณิตศาสตร์  เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ  1-10

     การพัฒนาเกมการศึกษา  หมายถึง  กระบวนการสร้างสื่อการจัดประสบการณ์ประเภท

เกมการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างในศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่.. นักเรียนชั้นอนุบาลที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี

จำนวน  25  คน

โดยเกมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด  6 เกมดังนี้

1.เกมใจเราตรงกัน  (หน่วยฝน)

2.เกมเรียงต่อแสนสนุก  (หน่วยผักสดสะอาด)

3.เกมรักกันนะ  (หน่วยผลไม้)

4.เกมพาเหรดตัวเลข  (หน่วยสัตว์บก)

5.เกมทะเลพาเพลิน  (หน่วยสัตว์น้ำ)

6.เกมของใช้อลเวง  (หน่วยของใช้)

แต่ละเกมใช้เวลาทั้งหมด  4  คาบ

ผลการทดลองเกมการศึกษาเรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1-10  สำหรับเด็กปฐมวัย

พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ  กระตือรือร้น  ต้องการเรียนเกมการศึกษาที่ผู้วิจัย

พัฒนาขึ้นโดยให้ความร่วมมือและตั้งใจปฎิบัติกิจกรรม  สิ่งที่นำมาปรับปรุงแก้ไขใน

เกมการศึกษา  คือ  ปรับขั้นตอนในการเล่นให้ชัดเจนและง่ายขึ้น  ปรับกิจกรรมให้มี

ความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น  หลังจากที่นำมาปรับปรุงแก้ไขจากการสังเกตพบว่า

พฤติกรรมในการเล่นเกมแบบเป็นกลุ่มนักเรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น

สิ่งที่นำมาแก้ไขปรับปรุงในเกมการศึกษาในครั้ง  คือ  เด็กนักเรียนสนใจสีสันที่สวยงาม

ภาพใหญ่และชัดเจน  และการตั้งกฎกติกาที่ชัดเจนในการเล่น

ผลจากการประเมินนำมาปรับปรุงแก้ไข  การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทาง

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พบว่า  คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้วยเกมการศึกษา

เรื่องการแทนค่า  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  และความคิดเห็นของเด็กนักเรียนมีความเห็นด้วย

เป็นอย่างมากในการเรียนด้วยเกมการศึกษา  ทั้งนี้อาจเพราะเกมการศึกษาทำให้เด็กนักเรียน

เกิดความกระตือรืนร้นในการเรียนรู้  รูปแบบเกมการศึกษาที่น่าสนใจช่วยให้นักเรียนเกิดการ

เรียนรู้จากเรี่องง่ายไปสู่เรื่องยาก เพราะเด็ก ๆ เปิดใจรับว่าการเรียนคณิตศาสตร์นั้นสนุก

การเรียนด้วยเกมการศึกษาทำให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้เด็กนักเรียน

เกิดความคิดสร้างสรรค์ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ทำให้เด็กนักเรียนมีทัศนะคติที่ดีใน

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น