บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
ความรู้
*** เลขที่ 13-15 นำเสนอวิจัย
เลขที่ 14 เรื่อง ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์
ด้านการจัดประเภท ทำกิจกรรมทั้งหมด 24 กิจกรรม 4 เรื่อง ได้แก่ ชนิด สี ขนาด
รูปทรง โดยนำสื่อในท้องถิ่นมาประยุกต์ในการสอน และใช้การทดสอบเป็นเกณฑ์
การประเมินนักเรียน พบว่าเมื่อนำสื่อท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้เด็ก
สามารถเรียนรู้และทำแบบทดสอบได้คะแนนดีขึ้นกว่าก่อนสอนโดยการใช้สื่อท้องถิ่น
เลขที่ 15 เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนาด้านมโนทัศน์
กิจกรรมเป็นการจัดการเรียนปนเล่นโดยการใช้การละเล่นแบบไทยมาบูรณาการ
การนับ การเปรียบ จำนวนมากกว่าน้อยกว่า จำนวนคู่และจำนวนคี่ เช่น เกมรีรีข้าวสาร
ม้าก้านกล้วย โดยใช้การประเมินแบบเป็นขั้นเป็นตอนและศึกษาภูมิหลังของเด็กแต่ละคน
เพื่อจะได้กำหนดกิจกรรม จัดกิจการวางแผนประสบการณ์ การเลือกสื่อให้เหมาะสม
กับกิจกรรมและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
เทคนิกการจัดประสบการณ์
- การใช้นิทานนำไปสอดคล้องกับสิ่งที่เด็กต้องเรียน
- การใช้เพลง เพราะเด็กจะสามารถจำและเข้าใจเพลงได้ดี
- การใช้เกมเป็นสื่อในการเรียนคณิตทำให้เด็กสนุกและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิต
- การใช้บทบาทสมมุติ เช่น การเล่นขายของสมมุติตัวเองเป็นแม่ค้า การเล่นธนาคาร
- การใช้คำคล้องจอง
ความรู้ความเข้าใจเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย คือ
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ คือ การนับเพิ่มทีละ 1
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน เช่น การใช้คำคล้องจองรู้ค่าจำนวนเลข 2
ไข่ 2 ฟอง
กลอง 2 ใบ
ไก่ 2 ตัว
วัว 2 เขา
เกาเหลา 2 ชาม
นับไปนับมา 2 อย่างหมดเลย
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ เช่น การเปรียบเทียบของสิ่งนี้เล็กกว่าสิ่งนี้ การเรียงลำดับ
จากมากไปน้อย
- การรวมและการแยกกลุ่ม
ทักษะ
- การคิดคำคล้องจอง
- การคิดทำนองเพลง
- การทำแบบทดสอบความรู้เดิมที่มีก่อนเรียน
- การใช้กิจกรรมตาราง ทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์โดยตรง คือ เรื่องการเปรียบเทียบ
- การต่อรูปโดยให้ด้านตรงกันอย่างน้อง 1 ด้านจะได้กี่รูป
วิธีการสอน
- การใช้กิจกรรมการสำรวจ
- การระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง
- การใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิด
- การใช้เกม
การประเมิน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีการเตรียมตัวก่อนเข้าสอน มีเกมการศึกษาให้นักศึกษาได้คิด
ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน
เพื่อนมาตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี แต่ก็ยังมีบ้างคนคุยกัน
ประเมินตนเอง
มาตรงเวลา และความร่วมมือในห้อง แต่แต่งกายมาไม่เหมือนเพื่อนเพราะยังไม่รู้ว่าต้องใส่ให้เหมือนกัน
ทั้งห้อง เลยใส่มาไม่เหมือนเพื่อน ๆ แต่ในการเข้าเรียนคาบหน้าจะแต่งกายให้เหมือนเพื่อน
ประเมินสภาพห้องเรียน
ห้องเรียนเย็นสบาย อุปกรณ์พร้อมในการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น