วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  7


ความรู้

***  16-18  นำเสนอโทรทัศน์ครู

              เลขที่  16  เรื่อง  ผลไม้แสนสุข เป็นกิจกรรมบูรณาการ   วันนี้เป็นหน่วยผลไม้

คุณครูก็จะให้เด็ก ๆ ชิมรสชาติของผลไม้  และกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิก

คำคล้องจ้อง  แล้วคุณครูก็จะพาเด็ก ๆ ออกไปทัศนศึกษาที่ตลาด  ก่อนออกไปคุณครู

จะทำข้อตกลงร่วมกันกับเด็ก  และให้เด็กตั้งคำถามที่อยากจะถามกับแม่ค้า  การออก

ไปทัศนศึกษาข้างนอกสิ่งที่เด็ก ๆ จะได้คือ  ประสบการณ์ตรง  ทางด้านสังคม  การมี

ปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้าน   กับแม่ค้า  พอถึงร้านขายผลไม้เด็ก ๆ ก็จะสวัสดีแม่ค้า  แล้ว

เริ่มถามคำถามที่เตรียมมา  เด็กก็จะได้เรียนรู้รูปทรงของผลไม้  ประโยชน์ของผลไม้

รู้ราคาผลไม้  รู้จำนวนนับ  การวัดโดยมีเครื่องมือเป็นตาชั่ง

              เลขที่  17  เรื่อง  ประสาทสัมผัสทั้งห้า  เด็กสามารถเรียนรู้จากประสาทสัมผัส

สัมผัสที่  1  การมอง =  คุณครูจะให้เด็ก ๆ เล่นกระบอกพิมพ์  ลองให้เด็ก ๆ คาดคะเน

                                     ว่าจะสามารถนำกระบอกพิมพ์ใส่บล็อกนั้นได้ไม

สัมผัสที่  2  การฟัง =  คุณครูจะมีกระบอกเสียงแล้วให้เด็ก ๆ จับคู่เสียง

สัมผัสที่  3  การสัมผัส  =  คุณครูจะมีผ้าให้แล้วให้เด็กลองสัมผัสแล้วบอกความรู้สึก

สัมผัสที่  4  การชิมรส  =  คุณครูมีรสชาติต่าง ๆ  ให้เด็กได้ชิมแล้วบอกว่านี่คือรสอะไร

สัมผัสที่  5  การดม  =  คุณครูจะมีกลิ่นให้เด็ก ๆ ดมว่าเหม็นหรือหอม  เหม็นมาก  เหม็นน้อย

***  กิจกรรมตารางเวลา  ว่าใครมาเวลากี่โมง  และให้ทำนาฬิกาแต่ถ้านำไปสอนเด็ก

อาจจะต้องนำนาฬิกามาวางไว้ตรงที่ลงชื่อประกอบด้วยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ดู  สอนเรื่องเวลา

ผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน  คุณครูต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็ก ๆ 

***  ระดมความคิดเรื่อง  รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

                                       รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

                                       รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน

                                       รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM

                                       รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

                                       รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
                           
***  การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ  Integrated  Learning  Management  หมายถึง
     
        กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ  ความสามารถของผู้เรียน  โดยเชื่อมโยง

        เนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลง

        พฤติกรรม  สามารถนำความรู้ทักษะ  และเจตคติไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง


หลักการนำไปใช้การสอนแบบบูรณาการ

 เด็ก  ต้อง  ควร  อยาก  รู้อะไร

เด็ก  ต้อง  ควร  อยาก  ทำอะไร

สาระที่ควรรู้  1.  เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก

                     2.  บุคคลและสถานที่ 

                     3.  ธรรมชาติ 

                     4.  สิ่งรอบตัวเด็ก

เพลง..

นี่คือนิ้วมือของฉัน         มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว

มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว         มือขวาก็มมีห้านิ้ว

          นับ  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า         นับต่อมา  หก  เจ็ด  แปด  เก้าสิบ

           นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ          นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

คำถาม  :  ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งแต่เล็กจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง ?

ตอบ      :  สำหรับดิฉันคิดว่าเด็กก็จะโตขึ้นเป็นคนไม่มีเหตุผล  ขาดไหวพริบและ

                 ความละเอียด

ทักษะ  

-  การระดมความคิด

-  การคิดแบบมายแมป

วิธีการสอน

-  การใช้กิจกรรมตารางเวลา  

-  การให้นักศึกษาระดมความคิด

-  การใช้คำถามให้นักศึกษาคิด

-  ทำกิจกรรมสาระที่ควรรู้  เป็น  มายแมป

-  ใช้เพลง

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มาสอนตรงเวลา  เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี  มีกิจกรรมให้ได้คิด

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนบ้างคนมาสาย  มีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง

มาเข้าเรียนตรงเวลา  เตรียมตัวมานำเสนองาน  แต่ยังพูดคำควบกล่ำได้ไม่ค่อยดี

ประเมินห้องเรียน

อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน  สถานที่ดี  แอร์เย็นสบาย

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  6


ความรู้

***  เลขที่  13-15  นำเสนอวิจัย

                เลขที่  14  เรื่อง  ผลการใช้สื่อในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์

ด้านการจัดประเภท  ทำกิจกรรมทั้งหมด  24  กิจกรรม  4  เรื่อง  ได้แก่  ชนิด  สี  ขนาด

รูปทรง  โดยนำสื่อในท้องถิ่นมาประยุกต์ในการสอน และใช้การทดสอบเป็นเกณฑ์

การประเมินนักเรียน  พบว่าเมื่อนำสื่อท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้เด็ก

สามารถเรียนรู้และทำแบบทดสอบได้คะแนนดีขึ้นกว่าก่อนสอนโดยการใช้สื่อท้องถิ่น

               เลขที่  15  เรื่อง  การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนาด้านมโนทัศน์

กิจกรรมเป็นการจัดการเรียนปนเล่นโดยการใช้การละเล่นแบบไทยมาบูรณาการ

การนับ  การเปรียบ  จำนวนมากกว่าน้อยกว่า  จำนวนคู่และจำนวนคี่  เช่น  เกมรีรีข้าวสาร

ม้าก้านกล้วย  โดยใช้การประเมินแบบเป็นขั้นเป็นตอนและศึกษาภูมิหลังของเด็กแต่ละคน

เพื่อจะได้กำหนดกิจกรรม  จัดกิจการวางแผนประสบการณ์  การเลือกสื่อให้เหมาะสม

กับกิจกรรมและเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

เทคนิกการจัดประสบการณ์

-  การใช้นิทานนำไปสอดคล้องกับสิ่งที่เด็กต้องเรียน

-  การใช้เพลง  เพราะเด็กจะสามารถจำและเข้าใจเพลงได้ดี

-  การใช้เกมเป็นสื่อในการเรียนคณิตทำให้เด็กสนุกและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิต

-  การใช้บทบาทสมมุติ  เช่น  การเล่นขายของสมมุติตัวเองเป็นแม่ค้า  การเล่นธนาคาร

-  การใช้คำคล้องจอง

ความรู้ความเข้าใจเชิงคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  คือ

-  จำนวนนับ  1  ถึง  20

-  เข้าใจหลักการนับ  คือ  การนับเพิ่มทีละ  1

-  รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก  และตัวเลขไทย

-  รู้ค่าของจำนวน  เช่น  การใช้คำคล้องจองรู้ค่าจำนวนเลข  2
                                                 
                                        ไข่             2   ฟอง
                         
                                        กลอง        2    ใบ

                                        ไก่             2    ตัว

                                        วัว             2    เขา

                                       เกาเหลา    2  ชาม

                                    นับไปนับมา  2  อย่างหมดเลย

-  เปรียบเทียบและเรียงลำดับ  เช่น  การเปรียบเทียบของสิ่งนี้เล็กกว่าสิ่งนี้  การเรียงลำดับ

   จากมากไปน้อย

-  การรวมและการแยกกลุ่ม

ทักษะ

-  การคิดคำคล้องจอง

-  การคิดทำนองเพลง

-  การทำแบบทดสอบความรู้เดิมที่มีก่อนเรียน

-  การใช้กิจกรรมตาราง  ทำให้เด็ก ๆ  ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์โดยตรง  คือ  เรื่องการเปรียบเทียบ

-  การต่อรูปโดยให้ด้านตรงกันอย่างน้อง  1  ด้านจะได้กี่รูป

วิธีการสอน

-  การใช้กิจกรรมการสำรวจ

-  การระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง

-  การใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิด

-  การใช้เกม

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีการเตรียมตัวก่อนเข้าสอน  มีเกมการศึกษาให้นักศึกษาได้คิด  

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนมาตรงเวลา  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี  แต่ก็ยังมีบ้างคนคุยกัน

ประเมินตนเอง

มาตรงเวลา  และความร่วมมือในห้อง  แต่แต่งกายมาไม่เหมือนเพื่อนเพราะยังไม่รู้ว่าต้องใส่ให้เหมือนกัน

ทั้งห้อง  เลยใส่มาไม่เหมือนเพื่อน ๆ แต่ในการเข้าเรียนคาบหน้าจะแต่งกายให้เหมือนเพื่อน

ประเมินสภาพห้องเรียน

ห้องเรียนเย็นสบาย  อุปกรณ์พร้อมในการเรียน



วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  5

อ้างอิง  นางสาวกมลรัตน์  มาลัย

ความรู้ที่ได้รับ

- เลขที่ 11 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

โดยมีเป้าหมายในการจัด คือ พัฒนาความคิดรวบยอดเช่น การบวก การลบ 


ทำให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องของคำศัพท์ สัญลักษณ์ และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้

การหาคำตอบด้วยตนเอง
 เพลง จัดแถว

สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า

ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง

ซึ่งเพลงนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ได้เพราะ

จะสอนในเรื่องของทิศทาง

- เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์



  • เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานเตรียมความพร้อมที่ต้องนำไปใช้ในการเรียน                                                                                                                                                     ชั้นประถมศึกษา
  • ต้องเป็นรูปธรรมและก็ลงมือปฏิบัติ

- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เช่น การบวก การนำไปใช้  และสาระมาตรฐาน               


การเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การลงมือปฏิบัติหรือการลงมือทำมีประโยชน์ คือ ทำให้เรารู้

คุณภาพของตัวเอง

ซึ่งสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาระด้วยกัน

  1. จำนวนและการดำเนินการ - เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและ                                                                                                                                                    การใช้จำนวนจริง                                                                                                                                                   
  2. การวัด  - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา                                                    
  3. เรขาคณิต - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง                                                                           
  4. พีชคณิต - เข้าใจแบบรูปที่สัมพันธ์กัน                                                                                                                     
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและ                                                                                                                                                        สิ่งแวดล้อมนำเสนอในรูปแผนภูมิอย่างง่าย                                                                                                                                
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ - ใช้แก้ปัญหา ให้เหตุผล
- คุณภาพของเด็กเมื่อเรียนจบ                                                                                                                                          
  • มีความคิดเชิงคณิต เช่น จำนวนนับ 1 ถึง 20  เข้าใจหลักการนับ                                                                           
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา                                              
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต เช่น ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง                                                 
  • มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง                                           
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย                                                         
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตที่จำเป็น                                                                                                  
ทักษะ

- ระดมความคิด แบบทดสอบก่อนเรียน

- ตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

-  ทำกิจกรรมเช็คชื่อเข้าเรียน

วิธีการสอน

- การใช้คำถาม

- ใช้เพลงประกอบในการสอน

- บรรยายประกอบ power point

- ยกตัวอย่างประกอบในการสอน




วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปงานวิจัย

เรื่อง  การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

จัดทำโดย..  นางนิธิกานต์  ขวัญบุญ

      เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์  หมายถึง  สื่อการจัดประสบการณ์

แบบเล่นเป็นรายบุคคลและแบบเล่นเป็นกลุ่มที่ใช้ควบคู่กับการจัดประสบการณ์การเตรียม

ความพร้อมทางคณิตศาสตร์  เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ  1-10

     การพัฒนาเกมการศึกษา  หมายถึง  กระบวนการสร้างสื่อการจัดประสบการณ์ประเภท

เกมการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างในศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่.. นักเรียนชั้นอนุบาลที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี

จำนวน  25  คน

โดยเกมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด  6 เกมดังนี้

1.เกมใจเราตรงกัน  (หน่วยฝน)

2.เกมเรียงต่อแสนสนุก  (หน่วยผักสดสะอาด)

3.เกมรักกันนะ  (หน่วยผลไม้)

4.เกมพาเหรดตัวเลข  (หน่วยสัตว์บก)

5.เกมทะเลพาเพลิน  (หน่วยสัตว์น้ำ)

6.เกมของใช้อลเวง  (หน่วยของใช้)

แต่ละเกมใช้เวลาทั้งหมด  4  คาบ

ผลการทดลองเกมการศึกษาเรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1-10  สำหรับเด็กปฐมวัย

พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ  กระตือรือร้น  ต้องการเรียนเกมการศึกษาที่ผู้วิจัย

พัฒนาขึ้นโดยให้ความร่วมมือและตั้งใจปฎิบัติกิจกรรม  สิ่งที่นำมาปรับปรุงแก้ไขใน

เกมการศึกษา  คือ  ปรับขั้นตอนในการเล่นให้ชัดเจนและง่ายขึ้น  ปรับกิจกรรมให้มี

ความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่น  หลังจากที่นำมาปรับปรุงแก้ไขจากการสังเกตพบว่า

พฤติกรรมในการเล่นเกมแบบเป็นกลุ่มนักเรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น

สิ่งที่นำมาแก้ไขปรับปรุงในเกมการศึกษาในครั้ง  คือ  เด็กนักเรียนสนใจสีสันที่สวยงาม

ภาพใหญ่และชัดเจน  และการตั้งกฎกติกาที่ชัดเจนในการเล่น

ผลจากการประเมินนำมาปรับปรุงแก้ไข  การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทาง

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พบว่า  คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้วยเกมการศึกษา

เรื่องการแทนค่า  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  และความคิดเห็นของเด็กนักเรียนมีความเห็นด้วย

เป็นอย่างมากในการเรียนด้วยเกมการศึกษา  ทั้งนี้อาจเพราะเกมการศึกษาทำให้เด็กนักเรียน

เกิดความกระตือรืนร้นในการเรียนรู้  รูปแบบเกมการศึกษาที่น่าสนใจช่วยให้นักเรียนเกิดการ

เรียนรู้จากเรี่องง่ายไปสู่เรื่องยาก เพราะเด็ก ๆ เปิดใจรับว่าการเรียนคณิตศาสตร์นั้นสนุก

การเรียนด้วยเกมการศึกษาทำให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทำให้เด็กนักเรียน

เกิดความคิดสร้างสรรค์ค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ทำให้เด็กนักเรียนมีทัศนะคติที่ดีใน

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุป โทรทัศน์ครู

เรื่อง  ผลไม้แสนสนุก

เป็นกิจกรรมบูรณาการ  วันนี้เป็นหน่วยผลไม้คุณครูจะผสมกิจกรรมการเคลื่อนไหว  คำคล้องจอง

คุณครูจะพาเด็ก ๆ ออกไปทัศนะศึกษาที่ตลาด  เป็นกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรียนรู้โดยตรง

ก่อนออกไปคุณครูจะให้เด็ก ๆ ร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกัน  เด็ก ๆ จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้าน

เด็กจะได้เรียนรู้รูปทรงของผลไม้แต่ละชนิด  เด็กก็จะเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยตรง  เพราะเด็ก ๆ

ถามราคาผลไม้  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดโดยใช้ตาชั่ง  1  กิโลมีกี่ลูก  คุณครูก็จะให้เด็ก ๆ นับว่า

มีกี่ลูก เด็ก ๆก็จะได้เรียนรู้จำนวนนับไปด้วย