วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนการเรียนครั้งที่  8 

ความรู้

***  19-20  นำเสนอบทความ

              เลขที่  19  เรื่อง  ทำไมเราถึงต้องสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก

เหตุผลเพราะเด็กอายุ  0-3 ขวบ  เป็นวัยที่มีความจำดี  เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเป็น

การได้บริหารสมองซีกขวา  ประโยชน์ของการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก ๆ คือ  

ได้ออกกำลังสมองซีกขวาไม่ให้ฟ่อ  เมื่อเด็ก ๆ โตมาก็สามารถนำความรู้เดิมที่เรียน

มาต่อยอดกับความรู้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

           เลขที่  20  เรื่อง  คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก  จะให้เด็กทำและมีส่วนร่วม

เด็กจะได้ลงมือทำจริง  สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์คือ  นิทาน  เพลง  สื่อที่สีสวย ๆ 

ครูมีเทคนิกคือ  จะไม่กากบาทข้อที่เด็กทำผิด  และจะให้เวลาเด็กทำการบ้านก่อนเข้าเรียน

เพราะครูอยากให้เด็กที่เรียนคณิตศาสตร์นั้นมีเจตคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์ในอนาคต

***  ตารางคณิตศาสตร์ผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน 

กลุ่ม
สตอ
เชอรี่
แอปเปิล
ลิ้นจี่
มะม่วง
สมาชิก

















จำนวน
5
5
5
5
4
24














   ใช้ตารางในการนับจำนวนสมาชิกในห้อง  และให้นับว่ามีสมาชิกมาเรียนทั้งหมดจำนวนกี่คน

เป็นการช่วยเสริมประสบการณ์เรื่องคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ 

***  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน  เรื่อง  รูปแบบการจัดประสบการณ์

1.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ    "Project  Approach"

เป็นการจัดประสบการณ์โดยให้เด็ก ๆ เป็นผู้เลือกเรื่องที่อยากจะเรียนรู้  คุณครูจะเป็นเพียง

ผู้ช่วยเหลือ

ลักษณะการจัดประสบการณ์มีทั้งหมด  3  ระยะ

ระยะ 1  เริ่มต้นโครงการ

ระยะ 2 พัฒนาโครงการ

ระยะ 3  ระยะสุดท้ายคือ  สรุป

กิจกรรม

1.  สนทนา/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น                                   2.  ทัศนศึกษา

3.  สืบค้นข้อมูล                                                                    4.  ให้เด็กออกมานำเสนอผลงาน

ประโยชน์

เด็กจะเห็นคุณค่าของตัวเอง

2.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

เป็นการจัดกิจกรรมโดยคำนึกของสมองของเด็กแต่ละช่วงวัย  เพศ  เพราะสมองของเด็กผู้หญิง

และเด็กผู้ชายจะมีการเรียนรู้และความถนัดต่างกันออกไป  เด็กจะสามารถทฤษฎีการเรียนรู้

ของตัวเอง

3.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ  STEM

เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิศวกรรมศาสตร์

และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน  แต่ประเด็นที่ครูผู้สอนต้องเน้นเพื่อให้มีลักษณะเป็น  

STEM ชัดเจนขึ้น  คือ  จะต้องเน้นให้เด็กได้แก้ไขปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และ

ทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่เรียนมา  สามารถนำมาแก้ไขปัญหา โดยคุณครูอาจปรับ

รายละเอียดให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย

4.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่

การจัดกิจกรรมแบบมอนเตสเซอรี่  ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ให้เด็ก

ได้สัมผัสด้วยมือ  หลักสูตรจะมุ่งให้เด็กใช้ศักยภาพของตนเองโดยเน้นการเรียนเป็นลำดับขั้น

และไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก  แต่ต้องการให้เด็กสร้างสมาธิ  ความมั่นใจ  ของเล่น

ของมอนเตสเซอรี่  จะเป็นของเล่นที่ผู้สอนจะต้องเป็นผู้บอกวิธีการเล่น  และปฏิบัติให้ดูก่อน

5.  การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ  Story  line

หลักการของการจัดการเรียนแบบ Story  line

1. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เด็กต้องมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้

2. เน้นการปฏิบัติและการเสริมแรง

3. เน้นการเรียนการสอนที่เป็นบูรณาการ  นำศาสตร์ต่าง ๆ มาสอนอยู่ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน

4. เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

5. เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน  เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาวุฒิภาวะทางสังคม

6. เน้นเรื่องการตั้งคำถาม  การตั้งคำถามของผู้สอนเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้

คำแนะนำจากอาจารย์ในการนำเสนอครั้งนี้

-  อาจารย์ให้ไปดูเพิ่มเติมแล้วนำมาเล่าเป็นรูปธรรมว่าให้เพื่อนฟังแต่ละรูปแบบ  จัดแบบไหน

เพลง  บวก - ลบ

   บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ                ครูให้อีกสามใบนะเธอ

                                              มารวมกันนับดีดีซิเออ                 ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

                                                 บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเธอเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง  เท่ากัน  -  ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา          ม้ามีสี่ขา

  คนเรานั้นหนา          สองขาต่างกัน

                  ช้าม้ามี          สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
   
          แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)

เพลง  ขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง

เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา

คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนหมด)

ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง  จับปู

1 2 3 4 5       จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

     6 7 8 9 10       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

                                                กลัวฉัน กลัวฉัน กลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

ทักษะ

-  การนำเสนองาน  

-  การไหว้

-  การรายงานหน้าชั้นเรียน

วิธีการสอน

-  การใช้กิจกรรมตารางในการนับสมาชิกในห้อง

-  การใช้ power point

-  การใช้เพลง


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มาสอนตรงเวลา  อาจารย์ให้คำแนะนำกับการนำเสนอทุกกลุ่ม

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนบ้างคนมาสาย  มีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ยังนำเสนอไม่ดีเท่าไร

ประเมินตนเอง

มาเข้าเรียนตรงเวลา   และให้ความร่วมมือในการฟังเพื่อนนำเสนอ

ประเมินห้องเรียน

อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน  สถานที่ดี  แอร์เย็นสบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น