วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  4


ความรู้ที่ได้รับ

***  เลขที่  7-9  นำเสนอโทรทัศน์ครู

                 โทรทัศน์ครูเลขที่ 7  เรื่อง เลขรอบตัวเรา มาถึงโรงเรียนคุณครูก็จะให้เด็ก ๆ

ทำการอบอุ่นร่างกายเพื่อให้กระตุ้นให้เด็ก ๆ ตื่นตัว  แล้วเข้ากิจกรรมคุณครูให้เด็ก ๆ

คิดประดิษฐ์สัญลักษณ์  อย่างเช่น  +  -  ทำท่าอย่างไร  แล้วใช้เพลงประกอบการสอนพร้อม

ประกอบการทำท่าทาง   เพราะคุณครูเชื่อว่าเด็ก ๆ จะจำเพลงได้ดี

                  โทรทัศน์ครูเลขที่  8  เรื่องการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยการใช้สื่อเทคโน

(ข้อแนะนำของอาจารย์:  อาจารย์บอกว่าการใช้สื่อเทคโนในการสอนเด็กปฐมวัยยังไม่ได้

  เราสามารถนำมาใช้สอนตอนท้าย)

                  โทรทัศน์ครูเลขที่ 9  เรื่องสอนอนุบาล  2-3  คุณครูจะใช้สื่อเพื่อดึงดูดความสนใจ

ของเด็ก ๆ  คุณครูจะใช้สื่อที่สามารถให้เด็ก ๆ สัมผัสได้จริง  เช่น  เรียนคณิตศาสตร์

เรื่องตัวเลขคุณครูก็จะนำสื่อที่เป็นเลข  3  ให้เด็กได้สัมผัส และได้เห็นว่าเลข 3  หน้าตา

เป็นอย่างไร

กิจกรรมประจำวัน  6  กิจกรรมหลัก

1.  เกมการศึกษา

2.  กิจกรรมเลือกเสรี

3.  กิจกรรมกลางแจ้ง

4.  กิจกรรมการเคลื่อนไหว

5.  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

6.  กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ทฤษฏีพัฒนาการของบรูเนอร์

ขั้นที่  1  ขั้นเรียนรู้ประสาทสัมผัส

ขั้นที่  2  ขั้นเรียนรู้จากความคิด  เรียนรู้จากรูปธรรมค่อยไปสู่นามธรรม

ขั้นที่  3  ขั้นสัญลักษณ์และนามธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการของไวกอสกี้

     ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเมื่อเมื่อเรารู้พัฒนาการเราจะเลือกสาระให้สอดคล้อง

กับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย

ความรู้ทางคณิตศาสตร์  แบ่งออกเป็น  2  แบบ

      1.  ความรู้ทางกายภาพ =  ความรู้ที่เราสามารถจับต้องได้  รับรู้โดยประสาทสัมผัส

      2.  ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์  =  ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในจากการที่เราเชื่อมโยง

            เข้าเนื้อหาทฤษฎีจการการลงมือทำ  ประสบการณ์ที่ดีทำให้เกิดคุณภาพในการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

-  เพื่อให้รู้คำศัพท์เข้าใจพื้นฐานของคณิต

-  เพื่อให้พัฒนาภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

-  เพื่อให้รู้กระบวนการหาคำตอบ

-  เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

-  เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

-  เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคำตอบ

ทักษะพี้นฐานของคณิตศาสตร์

-   การสังเกต

-   การจำแนก  (ข้อเสนอแนะอาจารย์: การสร้างเกณฑ์ไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ใน

                          การวัดควรใช้เพียงแค่เกณฑ์เดียว)

-   การเปรียบเทียบ  ต้องมีของ  2  สิ่ง

-   การจัดลำดับ  ต้องใช้การเปรียบเทียบและเด็กต้องเข้าใจคำศัพท์เฉพาะ

-   การวัด  ความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์  เครื่องมือการวัดของเด็กจะไม่เป็นมาตรฐาน  เช่น  เชือก

-   การนับ

-   รูปทรงและขนาด  เด็กส่วนใหญ่รู้จักเกี่ยวกับรูปทรงตั้งแต่ก่อนจะเข้าอนุบาลแต่

    ยังไม่สามารถบอกได้เพราะรอบ ๆ ตัวเด็ก ล้วนแล้วแต่เป็นรูปทรง  เด็กก็จะมีประสบการณ์

หลักการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
        *  สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  และการเรียนจากสิ่งรอบ ๆ ตัว

ทักษะ

-   การตอบคำถาม

-   การร้องเพลง

วิธีการสอน

-   power  point

-   การถาม-ตอบ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด

-   การใช้คำถามแบบเป็นเกม

-   การใช้กิจกรรมปฏิบัติเพื่อให้เห็นภาพ

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาได้คิดและใจดี แต่มีกฏเกณฑ์ที่ปฏิบัติรวมกัน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนให้ความร่วมมือ แต่บ้างคนก็ยังไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตอบคำถามเท่าไร 

ประเมินตนเอง 

ให้ความมีส่วนร่วมในห้อง แต่บ้างทีก็แอบเผลอเกือบหลับ  และไม่สดชื่น

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์พร้อมใช้งาน  แต่โต๊ะเรียนวางไม่เป็นระเบียบทำให้การเข้าออกมาทำกิจกรรมไม่สะดวก

1 ความคิดเห็น:

  1. -เขียนสรุปได้ดีตามความเข้าใจของตนเองถ้าขยายให้มากกว่านี้จะดีนะคะ ขอให้พยายามนะคะเพราะการเขียนสรุปเพื่อประเมินความเข้าใจของเราไม่ใช่การบันทึกเพียงขอบข่ายที่ครูสอนนะคะ
    -คุณยังบันทึกไม่ครบใช่ไหมคะ

    ตอบลบ