วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันพุธ ที่ 28 มกราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  4


ความรู้ที่ได้รับ

***  เลขที่  7-9  นำเสนอโทรทัศน์ครู

                 โทรทัศน์ครูเลขที่ 7  เรื่อง เลขรอบตัวเรา มาถึงโรงเรียนคุณครูก็จะให้เด็ก ๆ

ทำการอบอุ่นร่างกายเพื่อให้กระตุ้นให้เด็ก ๆ ตื่นตัว  แล้วเข้ากิจกรรมคุณครูให้เด็ก ๆ

คิดประดิษฐ์สัญลักษณ์  อย่างเช่น  +  -  ทำท่าอย่างไร  แล้วใช้เพลงประกอบการสอนพร้อม

ประกอบการทำท่าทาง   เพราะคุณครูเชื่อว่าเด็ก ๆ จะจำเพลงได้ดี

                  โทรทัศน์ครูเลขที่  8  เรื่องการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์โดยการใช้สื่อเทคโน

(ข้อแนะนำของอาจารย์:  อาจารย์บอกว่าการใช้สื่อเทคโนในการสอนเด็กปฐมวัยยังไม่ได้

  เราสามารถนำมาใช้สอนตอนท้าย)

                  โทรทัศน์ครูเลขที่ 9  เรื่องสอนอนุบาล  2-3  คุณครูจะใช้สื่อเพื่อดึงดูดความสนใจ

ของเด็ก ๆ  คุณครูจะใช้สื่อที่สามารถให้เด็ก ๆ สัมผัสได้จริง  เช่น  เรียนคณิตศาสตร์

เรื่องตัวเลขคุณครูก็จะนำสื่อที่เป็นเลข  3  ให้เด็กได้สัมผัส และได้เห็นว่าเลข 3  หน้าตา

เป็นอย่างไร

กิจกรรมประจำวัน  6  กิจกรรมหลัก

1.  เกมการศึกษา

2.  กิจกรรมเลือกเสรี

3.  กิจกรรมกลางแจ้ง

4.  กิจกรรมการเคลื่อนไหว

5.  กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

6.  กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ทฤษฏีพัฒนาการของบรูเนอร์

ขั้นที่  1  ขั้นเรียนรู้ประสาทสัมผัส

ขั้นที่  2  ขั้นเรียนรู้จากความคิด  เรียนรู้จากรูปธรรมค่อยไปสู่นามธรรม

ขั้นที่  3  ขั้นสัญลักษณ์และนามธรรม

ทฤษฎีพัฒนาการของไวกอสกี้

     ปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมเมื่อเมื่อเรารู้พัฒนาการเราจะเลือกสาระให้สอดคล้อง

กับพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย

ความรู้ทางคณิตศาสตร์  แบ่งออกเป็น  2  แบบ

      1.  ความรู้ทางกายภาพ =  ความรู้ที่เราสามารถจับต้องได้  รับรู้โดยประสาทสัมผัส

      2.  ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์  =  ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในจากการที่เราเชื่อมโยง

            เข้าเนื้อหาทฤษฎีจการการลงมือทำ  ประสบการณ์ที่ดีทำให้เกิดคุณภาพในการเรียนรู้

จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

-  เพื่อให้รู้คำศัพท์เข้าใจพื้นฐานของคณิต

-  เพื่อให้พัฒนาภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

-  เพื่อให้รู้กระบวนการหาคำตอบ

-  เพื่อฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

-  เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ

-  เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคำตอบ

ทักษะพี้นฐานของคณิตศาสตร์

-   การสังเกต

-   การจำแนก  (ข้อเสนอแนะอาจารย์: การสร้างเกณฑ์ไม่ควรใช้หลายเกณฑ์ใน

                          การวัดควรใช้เพียงแค่เกณฑ์เดียว)

-   การเปรียบเทียบ  ต้องมีของ  2  สิ่ง

-   การจัดลำดับ  ต้องใช้การเปรียบเทียบและเด็กต้องเข้าใจคำศัพท์เฉพาะ

-   การวัด  ความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์  เครื่องมือการวัดของเด็กจะไม่เป็นมาตรฐาน  เช่น  เชือก

-   การนับ

-   รูปทรงและขนาด  เด็กส่วนใหญ่รู้จักเกี่ยวกับรูปทรงตั้งแต่ก่อนจะเข้าอนุบาลแต่

    ยังไม่สามารถบอกได้เพราะรอบ ๆ ตัวเด็ก ล้วนแล้วแต่เป็นรูปทรง  เด็กก็จะมีประสบการณ์

หลักการสอนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
        *  สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  และการเรียนจากสิ่งรอบ ๆ ตัว

ทักษะ

-   การตอบคำถาม

-   การร้องเพลง

วิธีการสอน

-   power  point

-   การถาม-ตอบ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด

-   การใช้คำถามแบบเป็นเกม

-   การใช้กิจกรรมปฏิบัติเพื่อให้เห็นภาพ

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษาได้คิดและใจดี แต่มีกฏเกณฑ์ที่ปฏิบัติรวมกัน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนให้ความร่วมมือ แต่บ้างคนก็ยังไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการตอบคำถามเท่าไร 

ประเมินตนเอง 

ให้ความมีส่วนร่วมในห้อง แต่บ้างทีก็แอบเผลอเกือบหลับ  และไม่สดชื่น

ประเมินสภาพห้องเรียน

อุปกรณ์พร้อมใช้งาน  แต่โต๊ะเรียนวางไม่เป็นระเบียบทำให้การเข้าออกมาทำกิจกรรมไม่สะดวก

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 23 มกราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  3

ความรู้ที่ได้รับ 

1.  พัฒนาการคือ  การเปลี่ยนแปลงที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยมีสิ่งแวดล้อม

     และวุฒิภาวะแต่ละช่วงวัยเป็นปัจจัย

     ประโยชน์ของพัฒนาการ  คือ  -  ได้รู้จักเกี่ยวกับตัวเด็กมากขึ้น

                                                     -  เกิดความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

                                                     -  เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของ

                                                        เด็กแต่ละช่วงวัย

2.  พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง   คือ  การทำงานของสมอง

     จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เราจะต้องนำการทำงานของสมองมาจัดลำดับขั้นสติปัญญา

     ของแต่ละช่วงวัย

3.  พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์  บรูเนอร์  ไวกอตซกี้  มีลักษณะแบบเป็นขั้นเป็นตอน

4.  การเรียนรู้หมายถึง  การรับรู้  ------>  นำไปใช้  และมีประโยชน์  คือ  นำไปปรับตัวให้เข้า

     กับสภาพแวดล้อมเพื่อจะได้มีมีชีวิตรอด


5.  เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร  มีวิธีการเรียนรู้จากการได้ลงมือกระทำจริงผ่าน

     ประสาทสัมผัสทั้ง  5  และการเรียนแบบจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด  มีประโยชน์อย่างไร  เด็ก


ทักษะ

-   การทำแบบทดสอบก่อนเรียน

-   การตอบคำถาม

วิธีการสอน

-   การใช้คำคล้องจอง

-   ใช้การคำถาม

-   การใช้เทคนิกร่วมกันตอบคำถามแล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นคำตอบ

-  ใช้เทคนิกการวาดรูปและการแตกรากให้นักศึกษาได้เห็นภาพชัดเจนและจดจำได้ง่ายขึ้น

การประเมิน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีการเตรียมตัวมาสอน  อาจารย์สอนเนื้อหาสนุกและสื่อเนื้อหาออกมา

ให้สามารถเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ ในห้องร่วมกันตอบคำถามอย่างสนุกสนาน  ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

  เข้าเรียนตรงเวลา  มีการร่วมตอบคำถามในห้อง และให้ความสนใจในการเรียน

ประเมินสภาพห้องเรียน

กำลังอยู่ในช่วงทดสอบเครื่องมือการสอน  อาจมีการบกพร่องในเครื่องมือบ้างเล็กน้อย  

ทำให้การเรียนล่าช้าไปนิดหน่อย   

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกบทความ

สรุปบทความการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้นำเสนอโดย  นางปิยะดา  เยาวรัตน์

                เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ผู้ใหญ่ยังรู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ แต่สำหรับเด็กเล็ก ๆ   เราสามารถ

เริ่มต้นจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก  ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่าง ๆ ให้กับเด็ก  เราควรจะรู้ว่าทักษะ

ทางคณิตศาสตร์  หมายถึงเรื่องอะไรบ้าง  การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อม

แตกต่างกันไป  เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่แตกต่างกันตรง

วิธีการ  เช่น  สำหรับเด็ก  3-4  ขวบ  จำเป็นต้องเรียนรู้จากการผ่านสิ่งที่จับต้องได้ เพราะเขา

ยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่จับต้องไม่ได้หรือสิ่งที่เราพูด  แต่ถ้าเป็นเด็ก  5-6  ขวบจะเริ่มเข้าใจสิ่ง

ที่เราพูดมากขึ้นและสามารถเข้าใจในสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้แล้ว

               จริงแล้วนั้นคณิตศาสตร์นั้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้นเองในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะ

เรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข  จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต  การจับคู่  การแยกประเภท  ฯลฯ  เช่น

การตื่นนอน  (เรื่องของเวลา)การรับประทานอาหาร  (การคาดคะเนปริมาณ)  การเดินทาง

(เวลา  ตัวเลขที่สัญญาณไฟ  ทิศทาง)  ฯลฯ  ทุกอย่างล้วนอยู่ในชีวิตประจำวันที่เราต้อง

พบเจอ  ประสบการณ์ทางคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย  จึงหมายถึง  การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่

เปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง  ผ่านการเล่น  การสัมผัส  ได้กระทำจากการมี

ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้ใหญ่  เรียนจากสิ่งที่จับต้องได้ไปสู่สิ่งที่จับต้องไม่ได้

เรียนรู้จากใกล้ตัวไปไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรควรเน้นให้

เด็กเกิดความคิดรวบยอด  และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

                                                                               
                           


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 16 มกราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  2


ความรู้ที่ได้รับ

** เลขที่ 1-3 ออกมานำเสนอบทความการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     บทความเลขที่ 1  วิธีการจัดประสบการณ์ต้องใช้วิธีการปฏิบัติจริงโดยการลงมือ

กระทำเพื่อจะได้ไปกระตุ้นสมองให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เรื่องที่จะสอนต้องให้สัมพันธ์

กับชีวิตประจำวันเพื่อให้เชื่อมโยงความรู้เดิมทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด

     บทความเลขที่  2  การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กวัยซน  คณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์

กับชีวิตของเราตั้งแต่เกิด  เช่น  การนับ  ขนาด  รูปทรงสิ่งของต่าง ๆ

ทักษะ

**  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากการอ่านใบงานแล้วนำมาสรุปของแต่ละกลุ่มได้ดังนี้

1.  ความหมายของคณิตศาสตร์  คือ  วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวนและยังเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ

ชีวิตประจำวันและอาชีพทุก ๆ อาชีพ  เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่จำนวนตัวเลข

เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้จากการสังเกต  เปรียบเทียบ  และถ้าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวสามารถ

จับต้องได้ยิ่งจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดี

2.  ความสำคัญของคณิตศาสตร์  คือ  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต

ทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผล  มีนิสัยที่ละเอียดอ่อน  รอบคอบ  มีไหวพริบปฏิภาณที่ดีขึ้น

จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาให้ถูกต้องตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน

3.  ประโยชน์ของคณิตศาสตร์  คือ    ทำให้เด็กเรียนรู้การจำแนกแบบเป็นหมวดหมู่

ตามลักษณะหรือขนาดของคณิตศาสตร์ช่วยส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ในการปลูกฝัง

และอบรมจนทำให้มีนิสัยละเอียด  สุขุม  และรอบคอบ

4.  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  คือ  ทักษะคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการทางความคิด

ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน  การจัดหมวดหมู่  การเปรียบเทียบ  การเรียงลำดับ  การหาความสัมพันธ์

เหล่านี้เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่ครูจัด  แต่ต้องคำนึงถึงพัฒนาการและ

ความสามารถของเด็กเพราะจะทำให้เด็กพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มีทั้งหมด  5  ทักษะ  จาก สสวท.

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่  2  การวัด

สาระที่  3  เรขาคณิต

สาระที่  4  พีชคณิต

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

วิธีการสอน

-  การให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

-  การบรรยาย

-  Power Point

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มีการเตรียมตัวมาสอน  อาจารย์จะสรุปคำพูดที่เป็นทางการเป็นคำพูดที่นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน ๆ  มีความตั้งใจในการเรียนมาตรงเวลา และให้ความร่วมมือในการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

สภาพร่างกายไม่พร้อมเท่าทีควรนักเนื่องจากป่วย  แต่มีความพยายามทึ่จะตั้งใจฟังให้เข้าใจที่สุด

ประเมินสภาพห้องเรียน


ห้องเรียนเรียบร้อยเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนพร้อมที่จะใช้งาน  อยู่ในสภาพที่ดี




วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 9 มกราคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  1

1.  แนะแนวการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  

    โดยมีเกณฑ์มาตรฐานการให้คะแนนดังนี้

     1.1  ความธรรมจริยะธรรม

     1.2  ความรู้

     1.3  ทักษะ

     1.4  ความสัมพันธ์

     1.5  เทคโนโลยี

2.  ทำมายแม๊ปความรู้เดิม  เรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     2.1  การจัด             -  ทักษะ

                                    -  ประสบการณ์

                                    -  องค์ความรู้

     2.2  ประสบการณ์   -  ประสบการณ์เดิม

                                          *  ความรู้ที่ผ่านมาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับความรู้ใหม่

                                    -  ประสบการณ์ใหม่

     2.3  คณิตศาสตร์    -  ตัวเลข

                                          *  1 - 10

                                    -  การคำนวณ

                                          *  การเพิ่ม การลด

    2.4  เด็กปฐมวัย       -  การวางรากฐานการเรียนรู้

                                    -  อายุน้อย

                                          *  0 - 5  ปี

3.  งานที่ได้รับมอบหมาย   -  ให้หาบทความเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

     สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วนำมาสรุป

การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์สอนสนุก  เฮฮา  และให้นักศึกษาเขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อน  ๆ  เข้าเรียนตรงเวลาและสนใจที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลาและสนใจที่อาจารย์บรรยาย

ประเมินสภาพห้องเรียน

เครื่องมือการเรียนการสอนในห้องยังไม่พร้อมในการเรียนการสอน