วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 20 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  10

***  สิ่งที่ได้รับมอบหมายงานให้แบ่งกลุ่ม  8  กลุ่ม  

เลือกมา  1  สาระ  -  แต่งนิทาน

                            -   คำคล้องจอง

                            -   ปริศนาคำทาย  

สาระที่  1  จำนวนและการดำเนินงาน  2  กลุ่ม

*** นิทาน
นิทาน  เรื่อง....รูปทรงหรรษา

เช้าวันหนึ่งอากาศแจ่มใส  ตุ๊กติ๊กตื่นขึ้นแต่เช้า  อาบน้ำ  ล้างหน้า  แปรงฟัน  และลงไป

ทานข้าวเช้ากับคุณพ่อ  คุณแม่  ตุ๊กติ๊กสังเกตเห็นอะไรดุ๊กดิ๊กอยู่ในพุ่มไม้  ตุ๊กติ๊กจึง

บอกคุณพ่อให้พาเดินไปดูที่พุ่มไม้  เสียง "บ๊อก บ๊อก"  ดังขึ้นและวิ่งออกมาหาตุ๊กติ๊กทันที

ตุ๊กติ๊กชอบสุนัขตัวนี้มากจึงขอคุณพ่อเลี้ยงสุนัข  และชวนคุณพ่อสร้างบ้านให้สุนัขอยู่

ตุ๊กติ๊กช่วยคุณพ่อเตรียมอุปกรณ์และเล่นกับสุนัขจนเผลอหลับไป  ในความฝันตุ๊กติ๊กฝันไปว่า  

ได้ยินเสียงร้องไห้  ตุ๊กติ๊กจึงเดินไปดูจึงเห็นเทวดาทรงกลมนั้งร้องไห้อยู่ในครัว  

เป็นผลกลม ๆ มีสีส้ม   ตุ๊กติ๊กจึงเข้าไปถามว่า  "คุณเทวดาทรงกลมร้องไห้ทำไมค่ะ"

เทวดาทรงกลมจึงตอบว่า "เราผลัดหลงกับพี่น้องของเรา   เจ้าช่วยตามหาพี่น้องเรา

หน่อยได้ไหม"ตุ๊กติ๊กจึงตอบว่า  "ได้ค่ะ"  เทวดาทรงกลมจึงบอกลักษณะพี่น้องทั้งสี่

ให้ตุ๊กติ๊กฟังพี่น้องของเรามีทรงกระบอก  ทรงสี่เหลี่ยม  ทรงกรวย  และทรงสามเหลี่ยม  

ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทรงกลมเดินลงมาจากห้องครัว  ทันใดนั้นเอง  ตุ๊กติ๊กสังเกตเห็น

เทวดาทรงกระบอกยืนอยู่ตรงถังขยะในห้องน้ำ  เทวดาทรงกลมดีใจที่ได้เจอวิ่งเข้าไปกอดทันที  

ตุ๊กติ๊กพาเทวดาทั้งสองเดินต่อไป  เข้าไปในห้องนั้งเล่นจึงไปเห็นเทวดาทรงสี่เหลี่ยมนั้งอยู่ข้าง ๆ 

กล่องใบหนึ่ง  ทั้งสามดีใจวิ่งเข้ากอดกันทันที  ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทั้งสามเดินต่อไป  ตุ๊กได้ยินเสียง

เหมือนคนลื้อของในห้องเก็บของ  ตุ๊กติ๊กจึงพาเทวดาทั้งสามเข้าไปในห้องเก็บของ ทันใดนั้นเอง

ตุ๊กติ๊กก็มองไปเห็นเทวดาทรงกรวยอยู่บนหมวกคริตมาส  ทั้งสี่ดีใจวิ่งเข้ากอดกันทันที  

เหลือแต่เพียงน้องคนสุดท้อง  คือเทวดาทรงสามเหลี่ยม  แต่เดินจนทั่วบ้านยังไงก็ไม่เจอ  

จนกระทั้งได้ยินเสียงขอความช่วยเหลืออยู่หน้าบ้าน  "ช่วยด้วย  ช่วยด้วย  เรากำลังจะโดนกิน"  

ตุ๊กติ๊กและเทวดาทั้งสี่ตกใจรีบวิ่งตามเสียงมาดู  ก็เห็นเด็กชายคนหนึ่งกำลังถือโคนไอศครีม 

และมีเทวดาทรงสามเหลี่ยมติดอยู่ด้วย  ตุ๊กติ๊กจึงรีบวิ่งเข้าไปขอไอศครีมจากเด็กชายคนนั้น

และซื้อไอศครีมโคนใหม่ให้  เทวดาสามเหลี่ยมจึงปลอดภัย  เทวดาทั้งห้าดีใจวิ่งเข้ากอดกัน

ทันทีก่อนเทวดาทั้งห้าจะหายไป  เทวดาทรงกลมจึงให้ตุ๊กติ๊กขอพรในสิ่งที่อยากจะได้

ตุ๊กติ๊กจึงขอบ้านให้สุนัข หลังจากที่ตุ๊กติ๊กพูดจบ  ตุ๊กติ๊กก็สะดุงตื่นขึ้นมา  พร้อมกับรอยยิ้ม

ที่ได้ช่วยเหลือเทวดาทั้งห้า  เสียงคุณพ่อดังขึ้น  "ตุ๊กติ๊กบ้านสุนัขเสร็จแล้วนะลูกมาดูเร็ว"

ตุ๊กติ๊กดีใจรีบวิ่งออกไปดูเห็นบ้านสุนัขที่ประกอบไปด้วยเทวดารูปทรงต่าง ๆ   ตุ๊กติ๊ก

วิ่งเข้าไปกอดคุณพ่อและเล่าความฝันให้คุณพ่อฟังอย่างภาคภูมิใจ

***คำคล้องจอง
คำคล้องจอง


     ลูกวัวยืนอยู่ใกล้       ฟางกองใหญ่ริมท้องนา

    แม่วัวเฝ้าห่วงหา        คอยมองตามมิห่างไกล

     ลูกหมาวิ่งมุ่งมา          อยู่ไม่ห่างไกลออกไป

                                             ลูกวัวเห็นแสนตกใจ        วิ่งหลบใต้ท้องแม่วัว

***ปริศนาคำทาย      

ปริศนาคำทาย

                                                         เป็นวงกลม ๆ รูปทรงสวยงาม

เพื่อนตอบ  "หนังยาง"  แต่ยังไม่ใช่

เป็นวงกลม ๆ รูปทรงสวยงาม  

มีความตื้นบางเพื่อนตอบ  "ฝาน้ำ"  แต่ยังไม่ใช่

เป็นวงกลม ๆ  รูปทรงสวยงาม  มีความตื้นบาง  มีเกลียวเหล็กสว่างข้างใน

เพื่อนตอบ  "ล้อรถ"  ใช่แล้ว  ถูกต้องเลย


สี่เหลี่ยมเป็นกรอบ  ขอบ ๆ ใส ๆ 

เพื่อนตอบ  "ขอบผ้าใบ"  แต่ไม่ใช่เลย

สี่เหลี่ยมเป็นกรอบ  ขอบ ๆ ใส ๆ ตั้งวางไว้ได้

เพื่อนตอบ  "ขอบประตูไง"  ก็ยังไม่ใช่อยู่ดี

สี่เหลี่ยมเป็นกรอบ  ขอบ ๆ ใส ๆ ตั้งวางไว้ได้  ใส่รูปได้สวยดี

เพื่อนตอบ  "กรอบรูป"  ตอบถูกต้องเลย

สาระที่  2  การวัด

สาระที่  3  เรขาคณิต  2  กลุ่ม

สาระที่  4  พีชคณิต

สาระที่  5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่  6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่  9


ความรู้ที่ได้รับ

*** เลขที่  22 - 24  นำเสนองานวิจัย

                 เลขที่  22  เรื่อง  การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    เป็นการนำศิลปะมาจัดรูปแบบการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์  จำแนกเป็น  6  รูปแบบดังนี้

                       1.  ศิลปะย้ำ  เป็นการย้ำการเรียนรู้ด้วยการใช้ศิลปะ

                       2.  ศิลปะถ่ายโยง  เป็นการถ่ายทอดความรู้ผ่านงานศิลปะ

                       3.  ศิลปะปรับภาพ  ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ

                       4.  ศิลปะเปลี่ยนแบบ  เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้สู่งานศิลปะ

                       5.  ศิลปะบูรณาการ  บูรณาการสิ่งที่เรียนรู้สู่งานศิลปะ

                       6.  ศิลปะค้นหา  ค้นหาความรู้จากศิลปะ

                 เลขที่  24  เรื่อง  พัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง

การพัฒนาเด็กต้องคลอบคลุมทุกด้าน  โดยการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและดนตรี เพราะ

เด็กจะไม่รู้สึกว่าเรียนคณิตศาสตร์

วิธีการ  1.  ครูจะเปิดเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้เด็กฟังและฝึกร้อง

            2.  ครูให้เด็กเคลื่อนไหวประกอบเพลง

            3.  ครูสร้างกติกาให้เด็กเล่นเกม  และเรียนรู้ผ่านการเล่น

           4.   ในช่วงเด็ก ๆ ทำกิจกรรมอื่น ๆ ครูอาจเปิดเพลงเพื่อให้เด็กเรียนรู้ผ่านเสียงเพลง

           5.   ครูจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ  2  วันและเปลี่ยนเพลงไปเรื่อย ๆ

การนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์  (เพิ่มเติม)
 
          1.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ

               ระยะที่  1  เด็กและคุณครูเลือกเรื่องร่วมกัน

               ระยะที่  2  ขั้นพัฒนาโครงการ

               ระยะที่  3  เด็กจะต้องวางแผนการนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้มา

         2.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน  (BBL)

               1.  การผ่อนคลาย  และตื่นตัว

               2.  ทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน

               3.  การทำให้เด็กเกิดความรู้จกาการกระทำด้วยตัวเอง

 เพลง  ใหญ่-เล็ก

มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่

มาลีตกใจร้องไห้กลัวหมา

เห็นแมวตัวน้องค่อยค่อยก้าวมา

แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว


ทักษะ

-  การระดมความคิด

-  การนำเสนอสื่อ

-  การร้องเพลง

วิธีการสอน

-   Power  point

-  การใช้เพลง

-  การระดมความคิดนักศึกษา

-  การใช้คำถาม

-  การยกตัวอย่าง   


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

มาเข้าสอนตรงเวลา  แลมีกิจกรรมใหม่ ๆ ให้นักศึกษาทำ

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนบางคนคุยกันเวลาเรียน

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา  และให้ความร่วมมือในกิจกรรม

ประเมินสภาพห้องเรียน

เครื่องมือและอุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียนการเรียนครั้งที่  8 

ความรู้

***  19-20  นำเสนอบทความ

              เลขที่  19  เรื่อง  ทำไมเราถึงต้องสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก

เหตุผลเพราะเด็กอายุ  0-3 ขวบ  เป็นวัยที่มีความจำดี  เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและเป็น

การได้บริหารสมองซีกขวา  ประโยชน์ของการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็ก ๆ คือ  

ได้ออกกำลังสมองซีกขวาไม่ให้ฟ่อ  เมื่อเด็ก ๆ โตมาก็สามารถนำความรู้เดิมที่เรียน

มาต่อยอดกับความรู้ใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

           เลขที่  20  เรื่อง  คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก  จะให้เด็กทำและมีส่วนร่วม

เด็กจะได้ลงมือทำจริง  สื่อที่ใช้สอนคณิตศาสตร์คือ  นิทาน  เพลง  สื่อที่สีสวย ๆ 

ครูมีเทคนิกคือ  จะไม่กากบาทข้อที่เด็กทำผิด  และจะให้เวลาเด็กทำการบ้านก่อนเข้าเรียน

เพราะครูอยากให้เด็กที่เรียนคณิตศาสตร์นั้นมีเจตคติที่ดีกับวิชาคณิตศาสตร์ในอนาคต

***  ตารางคณิตศาสตร์ผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน 

กลุ่ม
สตอ
เชอรี่
แอปเปิล
ลิ้นจี่
มะม่วง
สมาชิก

















จำนวน
5
5
5
5
4
24














   ใช้ตารางในการนับจำนวนสมาชิกในห้อง  และให้นับว่ามีสมาชิกมาเรียนทั้งหมดจำนวนกี่คน

เป็นการช่วยเสริมประสบการณ์เรื่องคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ 

***  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน  เรื่อง  รูปแบบการจัดประสบการณ์

1.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ    "Project  Approach"

เป็นการจัดประสบการณ์โดยให้เด็ก ๆ เป็นผู้เลือกเรื่องที่อยากจะเรียนรู้  คุณครูจะเป็นเพียง

ผู้ช่วยเหลือ

ลักษณะการจัดประสบการณ์มีทั้งหมด  3  ระยะ

ระยะ 1  เริ่มต้นโครงการ

ระยะ 2 พัฒนาโครงการ

ระยะ 3  ระยะสุดท้ายคือ  สรุป

กิจกรรม

1.  สนทนา/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น                                   2.  ทัศนศึกษา

3.  สืบค้นข้อมูล                                                                    4.  ให้เด็กออกมานำเสนอผลงาน

ประโยชน์

เด็กจะเห็นคุณค่าของตัวเอง

2.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

เป็นการจัดกิจกรรมโดยคำนึกของสมองของเด็กแต่ละช่วงวัย  เพศ  เพราะสมองของเด็กผู้หญิง

และเด็กผู้ชายจะมีการเรียนรู้และความถนัดต่างกันออกไป  เด็กจะสามารถทฤษฎีการเรียนรู้

ของตัวเอง

3.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ  STEM

เป็นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิศวกรรมศาสตร์

และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน  แต่ประเด็นที่ครูผู้สอนต้องเน้นเพื่อให้มีลักษณะเป็น  

STEM ชัดเจนขึ้น  คือ  จะต้องเน้นให้เด็กได้แก้ไขปัญหาโดยใช้องค์ความรู้และ

ทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่เรียนมา  สามารถนำมาแก้ไขปัญหา โดยคุณครูอาจปรับ

รายละเอียดให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย

4.  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบมอนเตสเซอรี่

การจัดกิจกรรมแบบมอนเตสเซอรี่  ความสำคัญจะอยู่ที่อุปกรณ์การสอนหรือการเรียนรู้ให้เด็ก

ได้สัมผัสด้วยมือ  หลักสูตรจะมุ่งให้เด็กใช้ศักยภาพของตนเองโดยเน้นการเรียนเป็นลำดับขั้น

และไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก  แต่ต้องการให้เด็กสร้างสมาธิ  ความมั่นใจ  ของเล่น

ของมอนเตสเซอรี่  จะเป็นของเล่นที่ผู้สอนจะต้องเป็นผู้บอกวิธีการเล่น  และปฏิบัติให้ดูก่อน

5.  การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบบูรณาการ  Story  line

หลักการของการจัดการเรียนแบบ Story  line

1. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เด็กต้องมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้

2. เน้นการปฏิบัติและการเสริมแรง

3. เน้นการเรียนการสอนที่เป็นบูรณาการ  นำศาสตร์ต่าง ๆ มาสอนอยู่ภายใต้หัวข้อเรื่องเดียวกัน

4. เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

5. เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน  เป็นการเปิดโอกาสให้พัฒนาวุฒิภาวะทางสังคม

6. เน้นเรื่องการตั้งคำถาม  การตั้งคำถามของผู้สอนเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้

คำแนะนำจากอาจารย์ในการนำเสนอครั้งนี้

-  อาจารย์ให้ไปดูเพิ่มเติมแล้วนำมาเล่าเป็นรูปธรรมว่าให้เพื่อนฟังแต่ละรูปแบบ  จัดแบบไหน

เพลง  บวก - ลบ

   บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ                ครูให้อีกสามใบนะเธอ

                                              มารวมกันนับดีดีซิเออ                 ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ

                                                 บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ            หายไปสามใบนะเธอ

ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเธอเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง  เท่ากัน  -  ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา          ม้ามีสี่ขา

  คนเรานั้นหนา          สองขาต่างกัน

                  ช้าม้ามี          สี่ขาเท่ากัน  (ซ้ำ)
   
          แต่กับคนนั้น         ไม่เท่ากันเอย  (ซ้ำ)

เพลง  ขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง

เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา

คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง

(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนหมด)

ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง  จับปู

1 2 3 4 5       จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว

     6 7 8 9 10       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว

                                                กลัวฉัน กลัวฉัน กลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

ทักษะ

-  การนำเสนองาน  

-  การไหว้

-  การรายงานหน้าชั้นเรียน

วิธีการสอน

-  การใช้กิจกรรมตารางในการนับสมาชิกในห้อง

-  การใช้ power point

-  การใช้เพลง


การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์มาสอนตรงเวลา  อาจารย์ให้คำแนะนำกับการนำเสนอทุกกลุ่ม

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เพื่อนบ้างคนมาสาย  มีคุยกันบ้างเล็กน้อย  แต่ยังนำเสนอไม่ดีเท่าไร

ประเมินตนเอง

มาเข้าเรียนตรงเวลา   และให้ความร่วมมือในการฟังเพื่อนนำเสนอ

ประเมินห้องเรียน

อุปกรณ์การเรียนพร้อมใช้งาน  สถานที่ดี  แอร์เย็นสบาย